ประวัติม.เกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร[1] โดยก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศ [2][3]
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี พ.ศ. 2447 [4][5] และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการเพาะปลูก หลังจากนั้นรวมเข้ากับโรงเรียนแผนที่เป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ มีผลให้วิทยาการทางการเกษตรพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา
ใน พ.ศ. 2486 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับปรุงและรวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนกับโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนการป่าไม้เดิม จังหวัดแพร่) มาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยแรกเริ่ม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนเฉพาะด้านการเกษตรเท่านั้น เพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยตามอุดมคติของคำว่า University อย่างสมบูรณ์ จึงได้ขยายสาขาวิชาครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ บริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2541 และอยู่ระหว่างกระบวนการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ... สู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาการแปรสภาพจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม ในอดีตนิสิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้คำว่า "เกษตรศาสตร์" เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้คำว่า "Kasetsart" ในภาษาอังกฤษ
"เกษตรศาสตร์" มาจากคำว่า เกษตร (เขต หรือ แผ่นดิน) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับเขตและแผ่นดิน หรือ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Agriculture แปลว่า การเพาะปลูกแบบรูปธรรม มีรากคำมาจากภาษาละตินคือคำว่า agrīcultūra : agrī หมายความถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม และคำว่า cultūra หมายความถึง วัฒนธรรม, สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือการเพาะปลูก[25]
คำว่า "เกษตร" อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนั้น มีที่มาจากการที่กระทรวงเกษตราธิการต้องการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชาการเกษตรอันเนื่องด้วยวิชาการผลิตและการค้า เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่างๆ ของกระทรวงเป็นการเฉพาะ[26] โดยคำว่า "เกษตร" นั้นถูกจารึกขึ้นในประวัติศาสตร์สยามครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในปี พ.ศ. 1893[27] ได้มีการจัดตั้งการปกครองแบบจตุสดมภ์ขึ้น คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งตำแหน่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ขุนเกษตราธิบดี" มีอำนาจทั้งทางบริหารและอำนาจตุลาการใน"การจัดการเรื่องที่ดินและชลประทาน" เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การเลี้ยงชีพ การผลิตและการค้ากับนานาประเทศ ภายหลังจึงมีการเปลี่ยนชื่อกรมนา เป็นกระทรวงเกษตรพนิชการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตรพาณิชยการ, กระทรวงเศรษฐการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตร จนมาสู่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ[28][29][30]
ส่วนคำว่าเกษตรตามความหมายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้คำจำกัดความไว้ว่า เกษตร [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; ซึ่งความหมายในโบราณกาลว่า เขต, แดน (ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า เกฺษตฺร ส่วนภาษาบาลีจะใช้คำว่า เขตฺต). เช่นคำว่า
พุทธเกษตร (พุทธ+เกษตร) แปลความหมายว่า ดินแดนแห่งพุทธ
กษัตริย์ (เกษตร+อริย) แปลความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดิน
ในระหว่าง พ.ศ. 2518 ได้มีการวิ่งเต้นขอให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลนานัปการทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแถลงข่าวโจมตีซึ่งกันและกัน ระหว่างฝ่ายที่อยากให้เปลี่ยนชื่อและไม่ประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้นิสิตหยุดเรียนครึ่งวันเพื่อจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ภายหลังจึงมีการเห็นสมควรให้มีการใช้ชื่อ เกษตรศาสตร์ เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการระลึกและย้ำเตือนถึงศาสตร์อันเป็นรากฐานวัฒนธรรม ความรู้ และวิทยาการของแผ่นดินไทย[31][32]
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้มีพระราชดำรัสถึงความหมายของคำว่าเกษตรศาสตร์ตามชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้ว่า[33]

Cquote1.svg
คำว่าเกษตรศาสตร์ อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนี้นั้น ฟังดูมีความหมายจำกัดอยู่เพียงการทำนา แต่ความจริง เกษตรศาสตร์ ตามความหมายในปัจจุบัน กินความกว้างขวางมาก คือรวมเอาวิชาหรือศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจของมนุษย์เข้าไว้เกือบทั้งหมด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงสอนวิชาการสาขาต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ ทั้งฝ่ายศิลปศาสตร์ เรียกได้ว่าครบถ้วนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยในความหมายสากลอย่างสมบูรณ์
Cquote2.svg

คำ "เกษตรศาสตร์" ที่เป็นวิสามานยนามอันเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ อ่านว่า "กะ-เสด-สาด" แต่ในกรณีที่หมายถึงวิชาว่าด้วยการเกษตร คำนี้อ่านว่า "กะ-เสด-ตฺระ-สาด"

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 (ฉบับที่ 247) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 98 ง [34] โดยตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบ่งเป็น 2 ภาค ได้แก่ ภาคภาษาไทย ตรามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นรูปวงกลม มีรูปพระพิรุณทรงนาคอยู่กึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวคว่าและกลีบบัวหงาย และมีข้อความ “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๖” ล้อมรอบเป็นชั้นนอกสุด สีตราประจามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ สีเขียวใบไม้ ภาคภาษาอังกฤษ มีองค์ประกอบเหมือนกับภาคภาษาไทย แต่เปลี่ยนจากอักษรภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อความ “KAอาคารประจำมหาวิทยาลัย
หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรืออาคารจั่วสามมุข ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เป็นอาคารออกแบบด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์ มีเอกลักษณ์เป็นหน้าจั่วแบ่งมุขออกเป็น 3 ยอด โดยถอดแบบมาจาก “วังวินด์เซอร์” อาคารของโรงเรียนเกษตราธิการ ต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [35] ภายหลังจึงกลายเป็นต้นแบบของอัตลักษณ์ทางปรัชญาเกษตรศาสตร์ มี 3 ลักษณะทางจิตวิญญาณเกษตรศาสตร์ประกอบกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ [36]
จั่วสามมุข เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งหน้าจั่วนี้มีลักษณะของความโดดเด่นตรงที่มีความกว้างของส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอดที่เท่าเทียมกัน หมายความถึงการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนแห่งสยามประเทศ ภายในจำลักลาย บัว 3 ดอกเป็นดอกบัวที่ขึ้นพ้นเหนือน้ำ อันมีเต่าและปลาเป็นตัวแทนของสัตว์ร้ายต่างๆแหวกว่ายอยู่ หมายถึงบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระดับคือบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ที่ผ่านอุปสรรคต่างๆนานัปการตามหลักที่ปรากฏในพุทธโอวาท และมีการประกอบสัญลักษณ์ พระอุณาโลม อันมีลักษณะพ้องกับเลข ๙ ของไทย เป็นเครื่องหมายอันเป็นนิมิตหมายที่ดี หมายถึง ความรู้และความสว่างแก่โลก
ทั้งนี้สัญลักษณ์จั่วสามมุขยังปรากฏเป็นศิลปกรรมตามสถานที่ต่างๆของมหาวิทยาลัย เช่น อาคารสารนิเทศ 50 ปี, อาคารวชิรานุสรณ์, อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๔ รอบพระชันษาจุฬาภรณ์, อาคารประจำวิทยาเขตต่างๆ หรือแม้กระทั่งบริเวณขอบรั้วโดยรอบมหาวิทยาลัยก็ถูกถอดแบบให้มีลักษณะเป็น "จั่วสามมุข" ด้วยเช่นกัน [37][38]
SETSART UNIVERSITY 1943”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น