วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา


  ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา

            หัวเมืองภาคตะวันออกนับตั้งแต่เมืองชลบุรี เมืองระยอง เมืองจันทบูร และเมืองตราด รวมทั้งเมืองพุทไธมาศ (เมืองสีหนุวิลล์ เดิมเป็นหัวเมืองของไทย) แม้ว่าจะเป็นเมืองสำคัญชายฝั่งทะเลมาตั้งแต่สมัยกรุงเศรีอยุธยาตอนต้น แต่กระนั้นก็ตามไม่ค่อยจะมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารมากนัก เพราะเหตุว่าเป็นเมืองที่สงบสุข ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ไม่เคยเกิดข้าวยากหมากแพง ส่วนปัญหาด้านการเมืองก็ไม่เคยคิดกบฏต่อราชธานี จึงไม่มีเหตุการณ์สำคัญ หรือเรื่องราวร้ายแรงที่พระราชพงศาวดารจะต้องบันทึกไว้ ฉะนั้นเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในหัวเมืองภาคตะวันออกจึงค้นพบน้อยมากในเอกสารประวัติศาสตร์ จะพบอยู่บ้างก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยจะต่อเนื่อง
         เหตุการณ์ด้านประวัติศาสตร์ที่ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระราชพงศาวดารของหัวเมืองเหล่านี้ เพิ่งปรากฏชัดเจนในสมัยตอนกรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียกรุงครั้งที่สอง เพราะว่าชุมชนหัวเมืองภาคตะวันออกไม่ถูกกองทัพพม่ากวาดต้อนผู้คน บ้านเมืองไม่แตกระส่ำระสาย ส่วนหัวเมืองบริเวณภาคกลางที่ล้อมรอบกรุงศรีอยุธยาถูกกองทหารพม่ากวาดต้อนปล้นสะดม เข่นฆ่าราษฎรตอนที่ล้อมกรุงฯ ฉะนั้นหัวเมืองภาคตะวันออกจึงมีสภาพปรกติสุข เพียบพร้อมด้วยกำลังผู้คน เสบียงอาหาร และศัสตราวุธ เป็นผลให้ผู้นำทัพที่จะกอบกู้อิสระภาพจึงมุ่งที่จะมารวบรวมกำลังซ่องสุมผู้คน และกองทัพในหัวเมืองภาคตะวันออกถึง 2 ท่าน คือ (1) กรมหมื่นเทพพิพิธ เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ได้มารวบรวมกองกำลังเมื่อ พ.ศ.2308 ก่อนเสียกรุงฯ (2) พระเจ้าตากสิน สมัยดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการแม่ทัพ หรือพระยากำแพงเพชร ได้มาซ่องสุมผู้คนในหัวเมืองภาคตะวันออกตอนใกล้จะเสียกรุงฯ กรมหมื่นเทพพิพิธไปซ่องสุมกำลังที่หัวเมืองภาคตะวันออก กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พระนามเดิมว่า "พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าแขก" เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (พระเจ้าเอกทัศน์) และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ (พระเจ้าอุทุมพร)
            ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2301 กรมหมื่นเทพพิพิธสนับสนุน พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ตำแหน่งรัชทายาท) ได้ครองราชสมบัติ แต่พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้เป็นพี่รีบลาผนวชออกมา ประจวบกับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อรักสงบ ไม่ชอบการขัดแย้งจึงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวช กรมหมื่นเทพพิพิธเกรงราชภัยจะถึงตน จึงออกผนวชที่วัดกระโจม แต่กระนั้นก็ตามเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้ครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระตำรวจทั้งแปดไปจับตัวมาหวังจะประหารชีวิตเสีย แต่ขุนนางกราบบังคมทูลว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ไม่มีความผิดชัดเจน ไม่ควรประหารในระหว่างทรงพรตในเพศสมณะ จึงสั่งให้จองจำไว้ ครั้นกำปั่นจะไปลังกาทวีปเพื่อส่งพระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีไปเผยแผ่พุทธศาสนาสยามวงศ์ที่เมืองลังกา จึงให้เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธไปกับเรือกำปั่นนั้นด้วย กรมหมื่นเทพพิพิธพำนักที่เมืองลังกาได้ 4-5 ปี ต่อมาภายหลังทราบว่ากรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่ จึงหาโอกาสหนีกลับมาเมืองไทยอีก ได้โดยสารเรือกำปั่นแขกลูกค้าเมืองเทศมายังเมืองมะริด เมื่อ พ.ศ.2305
           ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2307 กองทัพพม่ายกมาตีเมืองมะริด ตะนาวศรี กรมหมื่นเทพพิพิธจึงหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบุรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร (ลาผนวชมารักษากรุงฯ) ทราบเรื่องราวกรมหมื่นเทพพิพิธตกยากอยู่ที่เพชรบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่เมืองจันทบูรในปีเดียวกันนั้น เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธมาอยู่เมืองจันทบูรนั้น ข่าวกองทัพพม่าล้อมกรุงฯ ปล้นสะดมชาวเมืองในหัวเมืองใกล้เคียง และเข่นฆ่าชาวบ้านชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้คนได้รวมตัวกันเป็นชุมนุมตั้งค่ายป้องกันตัว ดังค่ายบ้านบางระจัน เป็นต้น ชาวหัวเมืองในภาคตะวันออกต่างก็เห็นว่า เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ได้มาพำนักที่เมืองจันทบูร ต่างพากันมาสวามิภักดิ์ หวังจะให้เป็นหัวหน้าต่อสู้กองทัพพม่า ซึ่งพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้หน้า 146 ว่า "ฝ่ายเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งไปอยู่ ณ เมืองจันทบูรนั้น บรรดาคนชาวหัวเมืองทั้งหลาย ฝ่ายตะวันออกชวนกันนับถือ พากันมาสวามิภักดิ์พึ่งบารมีกันอยู่เป็นอันมาก กรมหมื่นเทพพิพิธจึงพาคนทั้งหลายนั้นเข้ามาอยู่ ณ เมืองปราจีนบุรี และคนชาวหัวเมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี เมืองบางละมุง เลื่องลือกันว่าจะเสด็จยกเข้ารบพม่าช่วยกรุงเทพมหานคร (สมัยโบราณเรียกอยุธยาว่า กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกัน) จึงพากันมาเป็นพวก มาเข้าด้วยเป็นหลายพัน ทูลรับอาสาจะรบพม่า กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้ตั้งค่าย ณ เมืองปราจีนบุรี จึงแต่งให้หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ชาวเมืองปราจีนบุรี และนายทองอยู่น้อย (พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมว่า "นายทองอยู่ นกเล็ก") ชาวเมืองขลบุรี คนทั้งสามนี้เป็นนายซ่องฝีมือเข้มแข็ง ให้เป็นนายทัพหน้าคุมพลชาวหัวเมืองต่างๆ สองพันเศษยกมาตั้งค่าย ณ ปากน้ำโยธกา คนทั้งหลายต่างส่งหนังสือกลับเข้ามาถึงพรรคพวกญาติ ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร คนในกรุงเทพมหานครรู้ก็ยินดี คิดพาครอบครัวหนีจากพระนครออกไปเข้าด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นอันมาก บรรดาหม่อมเจ้าชายหญิงซึ่งเป็นพระหน่อในกรมหมื่นเทพพิพิธ กับทั้งหม่อมห้ามข้าไทก็หนีออกไปหาเจ้า และพระยารัตนาธิเบศนั้นก็พาพรรคพวกหนีออกไปเข้าด้วย ช่วยกันคิดการซึ่งจะทำสงครามกับพม่า" (นายซ่อง คือหัวหน้าซ่องสุมกำลังพล) เหตุการณ์ที่กรมหมื่นเทพพิพิธตั้งค่ายซ่องสุมผู้คนที่เมืองปราจีนบุรีนั้นอยู่ระหว่าง พ.ศ.2308 ซึ่งกองทัพพม่ายังตีกรุงศรีอยุธยาไม่แตก แต่พม่าได้ส่งกองทัพเข้าตีปล้นสะดมหัวเมืองต่างๆ ใกล้เคียงกับกรุงศรีอยุธยา ครั้งแม่ทัพพม่าทราบว่ามีค่ายเจ้านายไทยตั้งอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี จึงให้เมฆราโบและกวนจอโบสองนายเป็นแม่ทัพคุมพล 3,000 ยกทัพออกไปตีค่ายที่ปากน้ำโยธกา ต่อสู้กันเป็นสามารถ หักค่ายปากน้ำโยธกา จับตัวหมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ฆ่าเสีย

อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน ที่ภาคตะวันออก

อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน ที่ภาคตะวันออก
29 May 2012
สายสุนีย์ สิงหทัศน์....เรื่อง

            ภาคตะวันออกของไทยประกอบไปด้วยจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด และระยอง เป็นดินแดนชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งบรรยากาศของหาดทรายชายทะเล เป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทและชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่คอยสนองนักท่องเที่ยวได้ทุกระดับ ทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และสามารถท่องเที่ยวได้เกือบตลอดปี

            ตลอดความยาวของชายฝั่งทะเลกว่า ๖๐ กิโลเมตร นับจากชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี เรื่อยมาจนถึงตราดนั้น เรียงรายไปด้วยหาดทราย เวิ้งอ่าว รวมทั้งเกาะแก่งต่าง ๆ มากมาย ถัดจากชายทะเลเข้ามาในแผ่นดินยังมีสายน้ำตกที่เย็นฉ่ำท่ามกลางธรรมชาติของป่าที่เขียวขจี อันเป็นแหล่งรวมของพรรณไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด

            สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนภาคตะวันออกอีกอย่างหนึ่ง คือการเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ของอาหารนานาชนิด ทั้งอาหารทะเลสดและแปรรูป รวมทั้งอาหารพื้นเมือง นอกจากนี้ภาคตะวันออกยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกผลไม้เมืองร้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

            ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นระยะเวลาที่ผลไม้นานาชนิดให้ผลมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเงาะ ทุเรียน มังคุด ระกำ มะปราง และมะยงชิด ชาวไร่ผลไม้เหล่านี้ จึงเปิดไร่ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสเข้าไปชมไร่และชิมผลไม้ รวมทั้งซื้อขายในราคาที่ย่อมเยา ตามคำขวัญว่า “อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน” นอกจากนี้ แต่ละจังหวัดยังได้จัดงานเทศกาลผลไม้ของตน เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือน แต่ไม่สามารถกำหนดวันจัดงานที่แน่นอนได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ผลไม้สุกที่จัดเป็นประจำ และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้แก่ งานมหกรรมทุเรียนโลก อำเภอเมืองฯ จังหวัดจันทบุรี

                ด้วยเหตุที่ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และเพื่อเป็นการส่งเสริมการเพาะปลูกและการจำหน่ายให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น โดยจะมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การประกวดธิดาชาวสวน การประกวดผลไม้ประเภทต่าง ๆ การประกวดขบวนรถยนต์ประดับผลไม้ การแข่งขันกินผลไม้ การออกร้านของเกษตรกร และหน่วยราชการต่าง ๆ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑

งานวันระกำหวานและของดีเมืองตราด
            จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีผลไม้อยู่แทบทุกชนิด ไม่แพ้จังหวัดอื่นในภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระกำหวาน อันเป็นผลไม้พิเศษซึ่งปลูกได้มากกว่าจังหวัดอื่น ๆ เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม ทางจังหวัดตราดจึงได้จัดงานวันระกำหวานและของดีเมืองตราดเป็นเวลา ๒ วัน ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดตราด โดยมีกิจกรรมการประกวดขบวนระที่ประดับตกแต่งด้วยผลไม้นานาชนิด และมีธิดาระกำหวานนั่งประจำรถ ขบวนแห่จะผ่านไปตามถนนสายสำคัญ ๆ สิ้นสุดที่บริเวณงาน นอกจากนี้ยังมีการประกวดสุนัขหลังอานที่มีชื่อเสียงของจังหวัดตราด การประกวดผลไม้ พืชเศรษฐกิจ พืชผัก นิทรรศการให้ความรู้เรื่องการบำรุงและขยายพันธุ์ระกำหวาน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและงานมหรสพ สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานจังหวัดตราด โทรศัพท์ ๐ ๓๙๕๐ ๑๒๘๒

งานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง
            ระยองเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่เลิศรส และมีชื่อเสียงในเรื่องผลไม้เช่นเดียวกับจังหวัดในภาคตะวันออก เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ทางจังหวัดระยองจึงได้จัดงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยองขึ้น ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด โดยจะมีกิจกรรมในงานที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ขบวนแห่ผลไม้ ซึ่งตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยผลไม้ การประกวดผลไม้ประเภทต่าง ๆ การจำหน่ายผลไม้และสินค้าพื้นเมือง เช่น น้ำปลา กะปิ กุ้งแห้ง และอาหารทะเลต่าง ๆ รวมทั้งการออกร้านผลิตภัณฑ์และสินค้าของที่ระลึก สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงาน ททท. จังหวัดระยอง โทรศัพท์ ๐ ๓๘๖๕ ๕๔๒๐-๑
International Public Relations Division
Tourism Authority of Thailand
Tel: +66 (0) 2250 5500 ext. 4545-48
Fax: +66 (0) 2253 7419
E-mail: prdiv3@tat.or.th
Web site: www.tatnews.org
http://www.tatnews.org/tat_release/detail.asp?id=5415

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติพระเยซู

ประวัติพระเยซู คริสต์

กำเนิด
          ก่อนที่พระเยซูอุบัติ ประวัติศาสตร์ของชนชาติยิวที่เป็นมายังกระจัดกระจาย ไม่สามารถ รวมกัน เป็นปึกแผ่นได้ จวบจนถึงสมัยตกอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน มีหัวหน้าซึ่งเป็น นักพรตของศาสนายิว ประจำอยู่ที่กรุงเยรูซาเลม เมื่อ พ.ศ. 543 หรือ ปีที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช (บางตำรากล่าวว่าก่อน คริสต์ศักราช 4 ปี ) พระเยซูไครสต์ได้สมภพขึ้น ในโลกที่ตำบล เบธเลเอ็ม (ฺBethlehem) แคว้นยูดา ในประเทศปาเลสไตน์วันที่ ทรงสมภพไม่มีบันทึกไว้ แน่นอน พระศาสนาจักรได้กำหนดเอาวันที่ 25 ธันวาคม และวันดังกล่าวนี้ชาวคริสต์ถือเป็น วันคริสต์มาส บริเวณที่ทรงสมภพเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ โดยเป็นบุตรของโยเซฟ และนางมาเรีย ตระกูลช่างไม้

          นางมาเรียนั้นเป็นผู้สืบสกุลมาจาก พระเจ้าเดวิล โดยเป็นธิดาของโยคิมและนาง แอนนา ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าเมื่อโยคิม กับแอนนาสมรสอยู่กิน กันมาเป็นเวลานาน แต่ก็ หามีบุตรไม่ โยคิมจึงได้บวงสรวงอ้อนวอน พระผู้เป็นเจ้า ขอให้ประทานบุตร ที่ดีให้สักคน หนึ่ง เมื่อได้บวสรวงเช่นนี้บ่อย ๆ เข้า ในที่สุดโยคิมก็ได้บุตรีสมความมุ่งหมาย ได้ตั้งชื่อว่า มาเรีย นางแอนนาได้นำมาเรียไปถวาย ไว้ที่วัดตั้งแต่ยังเยาว์ เพื่อให้ได้เรียนวิชาศาสนาและ การเย็บปักถักร้อย ต่อมาไม่นานบิดามารดาของมาเรียได้ถึงแก่กรรม เมื่อมาเรียโตขึ้นเป็นสาวแล้ว พวกพระที่วัดเห็นว่านางสมควรจะมีสามีได้ แต่นางไม่สมัครใจจะมีสามี แต่ก็สุดวิสัยที่จะหลีกเลี่ยงได้ เพราะกฎหมายบ้านเมืองมีอยู่ว่า หญิงสาวจะไม่มีผู้ปกครองไม่ได้ พวกพระเห็นว่าโยเชพซึ่งเป็นคนจน มีอาชีพในทางเป็นช่างไม้ เป็นผู้สมควร จึงแนะนำให้โยเชพไปสู่ขอ นางมาเรียจึงรับหมั่น เมื่อสู่ขอรับหมั้นได้แล้วยังไม่ได้แต่งงานอยู่กินด้วยกัน แต่ปรากฏว่านางมาเรียมีครรภ์แล้ว (อาจจะเป็นด้วยเดชพระวิญญานบริสุทธิ์ก็ได้) ส่วนโยเซพคู่หมั่นของนางก็เป็นคนดีมีความสัตย์ซื่อ ไม่ต้องการที่จะให้ข่าวนี้แพร่หลาย จึงคิดที่จะให้นางมาเรียหลบหนีไปเสียอย่างลับ ๆ แต่เมื่อโยเซฟยังตริตรองด้วยเรื่องนี้ ในค่ำคืนวันนั้นก็ได้มีทูตของพระเจ้ามาสำแดงในฝันว่า
          "โยเซฟ อย่าวิตกในการที่จะรับเอานางมาเรียมาเป็นภรรยาเจ้าเลยเพราะผู้ที่จะปฏิสนธิ ในครรภ์ของนางเป็นโดยเดช พระวิญญานบริสุทธิ์ นางจะประสูติเป็นชาย แล้วเจ้าจงเรียกนามท่านว่า เยซู เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่จะโปรดช่วย พลไพร่ของท่านให้รอดจากความผิดของเขา”

          ครั้นโยเซฟตื่นขึ้นก็ได้ทำตามของทูตของพระเจ้า โดยได้รับนางมาเรียมา แต่มิได้ร่วมอยู่หลับนอนกับนาง จนนางประสูติบุตรชายแล้ว และได้เรียกนามของบุตรว่า “เยซู

ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช





ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
  พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส     ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี  ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด       พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง" เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์   และพ่อขุนบานเมืองแล้ว   พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ..๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี 

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ      พ.. ๑๘๒๖   ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
 

พระเจ้ารามคำแหงมหาราช
 
        เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น  อาณาเขตยังไม่กว้างขวางเท่าใดนัก  เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จากปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้  ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อกับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อน     ส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียงเขาบันทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน        อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น  พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยายเขตแดนของไทยออกไปอีกในทางโอกาสที่เหมาะสม ดังที่มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปดีเมืองฉอด  ได้ทำการรบพุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้าเมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป        พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาจึงถวายพระนามโอรสองค์เล็กนี้ว่า     เจ้ารามคำแหง  พระเจ้าศรีอินทราทิตย์  ทรงครองอาณาจักรสุโขทัยอยู่จนถึงประมาณปี  1881  จึงเสด็จสวรรคต  พระองค์มีพระโอรสพระองค์ด้วยกัน โอรสองค์ใหญ่พระนามไม่ปรากฎเพราะได้สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่เยาว์วัย  องค์กลางทรงพระนามว่า ขุนบาลเมือง  องค์เล็กทรงพระนามว่า เจ้าราม และต่อมาได้รับพระราชทานใหม่ว่า เจ้ารามคำแหง หลังจากตีทัพขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดแตกพ่ายไป
เจ้าราม แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า    “เจ้ารามคำแหง
        พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา  พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า   ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นอันดับไปดังต่อไปนี้
        เมื่อพระเจ้าศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วโอรสองค์กลางขุนบาลเมือง ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาอีกประมาณ  9  ปี    ก็เสด็จสวรรคต  พระราชอนุชา คือ     เจ้ารามคำแหง      จึงได้เสวยราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้ารามคำแหง
        พระเจ้ารามคำแหง   จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า